วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แบบทดสอบ 

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไทยสมัยประชาธิปไตย

คำชี้แจง      ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการปฏิวัติ 2475
       ก.  เกิดความขัดแย้งภายในราชสำนัก
       ข.  เศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
       ค.  ความขัดแย้งระหว่างรัชกาลที่ 7 กับคณะราษฎร
       ง.   การเผยแพร่แนวความคิดประชาธิปไตยกับชาติตะวันตก
 2.  เพราะเหตุใด บ้านเมืองจึงยังไม่สงบภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
       ก.   เกิดจลาจล 12 ม.ค. 2476
       ข.   เกิดการปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475
       ค.   เกิดรัฐประหาร 20 มิ.ย. 2476
       ง.   เกิดกบฏบวรเดช 10 ต.ค. 2476
   3.  รัฐบาลกับคณะราษฎร เกิดความขัดแย้งกันหลังปฏิวัติ2475 มาจากสาเหตุใด  
       ก.  การงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
       ข.  รัฐบาลไม่รองรับการปฏิวัติของคณะราษฎร
       ค.  ความขัดแย้งในเค้าโครงเศรษฐกิจ ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม
       ง.   ความพยายามในการคืนอำนาจให้พระมหากษัตริย์อีกครั้งของรัฐสภา
4.  ข้อใดอธิบายการเมืองในสมัยประชาธิปไตยได้ถูกต้อง
       ก.   นานาชาติไม่ยอมรับรัฐบาลใหม่
       ข.   รัฐบาลเปลี่ยนแปลงด้วยการครบวาระ
       ค.   ประชาชนประท้วงจนรัฐบาลต้องลาออก
       ง.   การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมาจากทหาร
   5.  เศรษฐกิจของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงเด่นชัด  ในเรื่องใด
       ก.  พยายามรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
       ข.  ทำตามนโยบายของสหรัฐอเมริกา
       ค.  ประสานความร่วมมือกับประเทศจีน
      ง.  เปลี่ยนแปลงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
6. สภาพสังคมไทยสมัยประชาธิปไตยตรงกับลักษณะข้อใดมากที่สุด
       ก.  ทหารมีอำนาจสูงสุด
       ข.  ประชาชนมีอำนาจสูงสุด
       ค.  ข้าราชการมีอำนาจสูงสุด
       ง.   ธุรกิจการเมืองของข้าราชการและนักธุรกิจ
   7.  ประเทศที่ผลักดันให้ไทยต้องเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 คือประเทศใด
       ก.  ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น
       ข.  ญี่ปุ่น อังกฤษ
       ค.  อังกฤษ ฝรั่งเศส
       ง.   สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
   8.  ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดความขัดแย้งระหว่างไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสในเรื่องใด
       ก.  การขอปักปันเขตแดน
       ข.  การแย่งชิงอิทธิพลในลาว
       ค.  การรุกล้ำตามเขตชายแดน
       ง.   การขอดินแดนลาวและเขมรคืน
   9.  จุดมุ่งหมายของขบวนการเสรีไทย คืออะไร
       ก.  ต่อต้านญี่ปุ่น
       ข.  ร่วมมือกับญี่ปุ่น
       ค.  ต่อต้านสัมพันธมิตร
       ง.   ร่วมมือกับฝ่ายอักษะ
10.  ข้อใดไม่ใช่พระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 8 ที่มีผลต่อความมั่นคงของชาติ 
       ก.  การประกาศสงครามกับกัมพูชาคดีปราสาทพระวิหาร
       ข.  องค์ประธานในพิธีการรับรองการยอมจำนนของญี่ปุ่นในไทย
       ค.  การเสด็จประพาสสำเพ็งลดความขัดแย้งระหว่างคนไทยกับคนจีน
11. ข้อใดเป็นโรงเรียนสำหรับบุตรหลานของคนไข้โรคเรื้อน
       ก.   โรงเรียนจิตรลดา
       ข.   โรงเรียนพระดาบส   
       ค.   โรงเรียนมหรรณพาราม
       ง.   โรงเรียนราชประชาสมาสัย
12.  พระราชกรณียกิจด้านสิ่งแวดล้อมของรัชกาลที่ 9
       เน้นเรื่องใดมากที่สุด
       ก.   โครงการแก้มลิง
       ข.   โครงการบำบัดน้ำ
       ค.   พระราชดำริทฤษฎีใหม่  
       ง.   การจัดการทรัพยากรน้ำ
13.  เมื่อไทยเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติแล้วได้แสดงบทบาทในฐานะสมาชิกของสังคมโลกอย่างไร
        ก.   เข้าร่วมรบในสงครามเกาหลี
       ข.   ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากเวียดนาม
       ค.   เป็นสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคง
       ง. เข้าเป็นสมาชิก SEATO ต่อต้านคอมมิวนิสต์
14. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของไทยในสังคมโลก
       ก.   NAM
       ข.   WTO
       ค.   NATO
       ง.   AFTA
15.  การร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้ที่ไทยมีบทบาทเป็นผู้ริเริ่มคือข้อใด
       ก.   ADB
       ข.   AFTA
       ค.   ASEAN
       ง.   SEATO
                                    
  

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แบบทดสอบวัดผลกลางภาคเรียน
รหัสวิชา  ส 23102                รายวิชา ประวัติศาสตร์                        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3
คะแนน  20  คะแนน                                                                   เวลา   1 ชั่วโมง

คำชี้แจง  ข้อสอบมีทั้งหมด 20 ข้อ เป็นข้อสอบปรนัยทั้งหมด

คำสั่ง     ให้นักเรียนกาเครื่องหมาย  û  ลงในช่องที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  กระบวนการใดที่สำคัญที่สุดในการนำเสนองานเขียนทางประวัติศาสตร์
      ก.  การวางเค้าโครง                   
      ข.  การตั้งสมมติฐาน
      ค.  การรวบรวมข้อมูล                           
      ง.  การตีความหาความสัมพันธ์ของเหตุการณ์
2.  ข้อใดเป็นหลักฐานในสมัยประวัติศาสตร์
      ก.  ลูกปัดหินสี       ข.  การเขียนสี      ค.  ซากโครงกระดูก    ง.  จารึกบนกระดูกสัตว์
3.  หลักฐานข้อใดที่ให้ข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรมน้อยกว่าข้ออื่นๆ
      ก.  ตำนาน                                                 ข.  พงศาวดาร  
      ค.  ศิลาจารึก                                              ง.  โครงกระดูก
4.  นายเขียวและนายขาวใช้ข้อมูลเดียวกันในการเขียนรายงานทางประวัติศาสตร์ แต่ผลงานของ
      นายเขียวมีความน่าเชื่อถือกว่าผลงานของนายขาว นักเรียนคิดว่าเป็นเพราะอะไร
      ก.  การวิเคราะห์ข้อมูล
      ข.  การตรวจสอบข้อมูล
      ค.  การใช้ถ้อยคำสำนวน              
      ง.  การคัดเลือกและจัดความสัมพันธ์ของข้อมูล 
5.  ในการขุดค้นชุมชนโบราณแห่งหนึ่งพบกระดูกสัตว์และเครื่องมือจับปลา ข้อใดตีความได้ถูกต้อง
       น้อยที่สุด
      ก.  ชุมชนนี้น่าจะเป็นชาวเกาะ        
      ข.  ชุมชนนี้รู้จักการล่าสัตว์และประมง
      ค.  ชุมชนนี้น่าจะมีปลาเป็นอาหารหลัก
      ง.  ชุมชนนี้รู้จักการเลี้ยงสัตว์และประมง
6.  "วิถีชีวิตของผู้คนในโลกตะวันออก โลกตะวันตกและคนไทย มีความแตกต่างกัน" นักเรียนสามารถใช้             
      วิธีการทางประวัติศาสตร์ใดในการศึกษาข้อมูลดังกล่าวได้ถูกต้องและครอบคลุมมากที่สุด
      ก.  ศึกษาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต      
      ข. รวบรวมหลักฐานชั้นต้นโดยสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านของไทย และค้นหาหลักฐานชั้นรองจาก 
    หอจดหมายเหตุ
      ค. รวบรวมหลักฐานชั้นต้นจากบันทึกของชาวต่างชาติ นักการทูต และหลักฐานชั้นรองจากหนังสือ
           ประวัติศาสตร์สากล
      ง. รวบรวมหลักฐานชั้นต้นจากพงศาวดารและจดหมายเหตุของชาติตะวันออก และหลักฐานชั้นรอง
          จากพงศาวดารและจดหมายเหตุของชาติตะวันตก
7.  ข้อใดไม่ใช่ขั้นตอนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์
      ก.  การรวบรวมข้อมูล                 ข.  การวิเคราะห์ตีความ
      ค.  การตั้งประเด็นการศึกษา           ง.  การเปรียบเทียบข้อมูลกับของผู้อื่น
8.  นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวที่ว่าประวัติศาสตร์ย่อมซ้ำรอยเดิม
      ก.  เห็นด้วย เพราะอดีตจะช่วยเตือนสติให้คนย้อนดูอดีต
      ข.  เห็นด้วย เพราะการกระทำของผู้คนในปัจจุบันย่อมเลียนแบบจากอดีต
      ค. ไม่เห็นด้วย เพราะประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่าย ทำให้ผู้คนไม่อยากย้อนรอยเดิม 
      ง. ไม่เห็นด้วย เพราะปัจจัยด้านเวลา สถานที่ ตัวบุคคลและสภาพแวดล้อมย่อมมีการเปลี่ยนแปลง
           ต่างไปจากเดิม
9.  นักประวัติศาสตร์ใช้เกณฑ์อะไรแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ออกเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์และยุค 
     ประวัติศาสตร์
ก   การตั้งถิ่นฐาน                                  ข เครื่องมือเครื่องใช้       
       ค           ตำนานหรือคำบอกเล่า                        ง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
10.      อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิจัดเป็นหลักฐานประเภทใด
     ก   หลักฐานชั้นต้น                                ข หลักฐานชั้นรอง     
     ค   หลักฐานปฐมภูมิ                               ง หลักฐานที่เป็นลายลายลักษณ์อักษร
11. จารึกวัดพระเชตุพลวิมลมังคลารามจัดเป็นหลักฐานประเภทใด
     ก   หลักฐานชั้นรอง                               ข หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
     ค   หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร            ง ไม่มีข้อใดถูก
12. งานเขียนทางประวัติศาสตร์ที่บันทึก     เรื่องราวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ จัดเป็นหลักฐานประเภทใด
     ก   ตำนาน       ข   จดหมายส่วนตัว            ค จดหมายเหตุ  ง พระราชพงศาวดาร
13.คำบอกเล่า ของผู้รู้หรือผู้ที่อยู่ร่วมเหตุการณ์ ถือว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หรือไม่ เพราะอะไร
     ก.เป็น เพราะเป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมา              ข.เป็นเพราะคนที่เล่ามีอายุมาก
     ค.ไม่เป็น เพราะเรื่องที่เล่าอาจปรับเปลี่ยนได้               ง.ไม่เป็นเพราะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
14.การใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิธีการใดที่น่าเชื่อถือน้อยที่สุด
     ก. การหาชีวประวัติจากงานศพ                             ข.การสัมภาษณ์บรรพบุรุษ
     ค. การอ่านบันทึกเหตุการณ์ประจำวัน            ง.บันทึกความทรงจำ
15.อาณาเขตด้านตะวันตกของทวีปยุโรป คือข้อใด
   ก.   ทะเลแดง                           ข.  มหาสมุทรอาร์กติก
   ค.   ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน                  ง.มหาสมุทรแอตแลนติก
16. เส้นทางใดที่นำอารยธรรมตะวันตกแพร่หลายไปยัง     
   ทวีปอเมริกาเหนือ
   ก.   มหาสมุทรแอตแลนติก                 ข. มหาสมุทรอาร์กติก
   ค.   มหาสมุทรแปซิฟิก                      ง. ช่องแคบเบริง
17. ข้อใดคืออารยธรรมตะวันตก
   ก.   พีระมิด                                 ข. อักษรภาพ
   ค.   กฎหมายฮัมมูราบี                      ง. สถาปัตยกรรมหัวเสา

18. ข้อมูลประวัติศาสตร์ยุโรปในยุคกลางข้อใดไม่ถูกต้อง
   ก.   สงครามครูเสด
   ข.   การปกครองในระบบฟิวดัล
   ค.   อาณาจักรโรมันถูกพวกเติร์กรุกราน
   ง.   ศาสนาคริสต์เข้ามามีอิทธิพลในการดำเนินชีวิต
19. อิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกเริ่มมีความสำคัญจากเหตุการณ์ใด
   ก.   สงครามครูเสด                                        ข.   กษัตริย์ที่ชาญฉลาด
   ค.   การปฏิวัติในฝรั่งเศส                                  ง.   การค้นพบและการสำรวจโลก
20. ยุโรปก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำโลกในศตวรรษที่ 17-18 จากการปฏิวัติครั้งสำคัญ ยกเว้นข้อใด
   ก.   การปฏิวัติรุ่งโรจน์ของอังกฤษ                         ข.   การปฏิวัติอุตสาหกรรม
   ค.   การปฏิวัติวิทยาศาสตร์                                ง.   การปฏิวัติฝรั่งเศส